เมนู

ข้อว่า อสุภาย วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระองค์ทรงตั้ง
อสุภมาติกา ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงจำแนก
คือทรงพรรณนา สังวรรณนา อสุภมาติกานั้น ด้วยบทภาชนีย์ จึงตรัสคุณา-
นิสงส์แห่งอสุภะ.
ข้อว่า อสุภภาวนาย วณฺณํ ภาสติมีความว่า ความอบรมคือ
ความเจริญ ความเพิ่มเติมจิต ที่ถือเอาอากากรอันไม่งาม ในส่วนทั้งหลายมีผม
เป็นต้น หรือในอสุภะมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น หรือในวัตถุภายในและภายนอก
ทั้งหลาย เป็นไป นี้ใด ; พระองค์จะทรงแสดงอานิสงส์แห่งอสุภภาวนานั้น
จึงตรัสสรรเสริญ คือทรงประกาศคุณ. ตรัสอย่างไรเล่า ? ตรัสว่า ดุก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบเฉพาะซึ่งอสุภภาวนา ในวัตถุมีผมเป็นต้น หรือ
ในวัตถุมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน อันละองค์ 5
ประกอบด้วยองค์ 5 มีความงาม 3 อย่าง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ภิกษุ
นั้น อาศัยหีบใจ กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุด.

[ปฐมฌานมีลักษณะ 10 และความงาม 3]


บรรดาความงาม 3 และลักษณะ 10 เหล่านั้น ลักษณะ 10 แห่ง
ปฐมฌานเหล่านี้ คือ ความหมดจดแห่งจิตจากธรรมที่เป็นอันตราย 1 ความ
ปฏิบัติสมาธินิมิอันเป็นท่ามกลาง 1 ความแล่นไปแห่งจิตในสมาธินิมิตนั้น 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่หมดจด 1 ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ดำเนินถึงความสงบ 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ
คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น 1 ความผุดผ่องด้วย
อรรถคือความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเคียวกัน 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ